ความสำคัญของการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้

การศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษาที่ต้องการ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดกระบวนการทางความคิด ความเข้าใจ สามารถเข้าใจในบทเรียนที่เรียนรู้ได้อย่างถ่องแท้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551จึงกำหนดให้การจัดการเรียนรู ้โดยให้ผู้เรียน เป็นสำคัญจากความสำคัญดังกล่าวช้างต้น สถานศึกษาจึงมีหน้าที่ในการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ในผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริม ให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกโอกาส จากสื่อและแหล่งเรียนรู้ทุกประเภททั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษา รวมทั้งเครือข่ายการเรียนรู้ต่าง ๆ ในท้องถิ่น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อย่างอิสระ และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเพื่อน การพัฒนาการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้จะทําให้ปรับวิธีเรียน และผู้สอนเปลี่ยนวิธีสอนได้อย่างหลากหลาย

ดังนั้นสถานศึกษาจึงส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทําแผนการใช้แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ เครือข่ายชุมชน เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามสภาพจริง ค้นคว้า ค้นพบความรู้ได้ไม่รู้จบ จึงเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข

เครือข่ายการเรียนรู้ 

เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การเชื่อมโยงการใช้แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลายอย่างคุ้มค่า

ประเภทของแหล่งการเรียนรู้

แหล่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมี  2  ประเภท คือ  

1. แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน

2. แหล่งการเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน 

ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น

 การบริหารจัดการเพื่อการพัฒนา และใช้แหล่งการเรียนรู้

การพัฒนาแหล่งเรียนรู้โรงเรียนวัชรวิทยาดำเนินการอย่างเป็นระบบ ตามวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA) ซึ่งสถานศึกษานำมาใช้ในการบริหารแหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้การจัดแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษามีคุณภาพ  การบริหารคุณภาพจะทำให้     การบริหารงานพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา มีการทำงานที่เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ  ช่วยส่งเสริมการใช้แหล่งการเรียนรู้บรรลุเป้าหมายตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบบริหารจัดการที่ดีตามระบบวงจรคุณภาพด้วยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและชุมชน ประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การดำเนินงานตามแผน (Do) การตรวจสอบ (Check) การพัฒนาปรับปรุง (Action) ซึ่งสถานศึกษาดำเนินการ ดังนี้