กิจกรรมส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ส่งเสริมคุณลักษณะ
และทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
หลักการและเหตุผล
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่มพัฒนาผู้เรียนให้มีความสมดุลทั้งร่างกาย ความรู้และคุณธรรม มีจิตสำนักในความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกด้วยการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงมีส่วนสำคัญที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุลทั้งร่างกาย ความรู้และคุณธรรมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้สำคัญที่จะส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ และคุณลักษณะตามความคาดหวังของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการเรียนการสอน กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Order Thinking) ด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์และประเมินค่าสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันกิจกรรมการเรียนรู้ก็ควรส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21 ในเรื่องทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) คือ การเรียนรู้ 3Rs8Csเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมนำไปสู่ความเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลกอย่างมีศักยภาพ
งานพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้จึงกิจกรรมส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ส่งเสริมคุณลักษณะและทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมี ส่วนร่วมขึ้นเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมผู้เรียนให้คุณลักษณะและทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีคุณภาพและเพื่อสร้างครูผู้นำ ครูผู้พัฒนา และครูต้นแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ส่งเสริมคุณลักษณะและทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
2. เพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ส่งเสริมคุณลักษณะและทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
3. เพื่อเผยแพร่นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ส่งเสริมคุณลักษณะและทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
ระยะที่ 1 สร้างครูผู้นำ : ประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรม
ระยะที่ 2 สร้างครูผู้พัฒนา : อบรมเชิงปฏิบัติการและวิจัยแบบมีส่วนร่วม
ระยะที่ 3 สร้างครูต้นแบบ : กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลการศึกษา/วิจัย
กลุ่มเป้าหมาย
ครูโรงเรียนวัชรวิทยา จำนวน 30 คน
การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21 ของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. ในเรื่องทักษะการเรียนรู้ (Learning Skill) คือ
3Rs
Reading (อ่านออก)
(W) Riting (เขียนได้)
(A) Rithemetics (คิดเลขเป็น)
8Cs
Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
Compassion (ความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม และจริยธรรม)
ระยะที่ 1 สร้างครูผู้นำ : วันที่ 2 มีนาคม 2566
กลุ่มเป้าหมาย ครูกลุ่มบริหารงานวิชาการ/ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้
การประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างครูแกนนำในการขับเคลื่อนและพัฒนาครูที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม เกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรม รูปแบบการพัฒนา ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม เป็นต้น
วิทยากร : นางสาวนางสาวฐานิตา แก้วศรี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้ สพม.กำแพงเพชร
ระยะที่ 2 สร้างครูผู้พัฒนา : รอดำเนินการ
กลุ่มเป้าหมาย ครูจำนวน 30 คน
มีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
การอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ส่งเสริมคุณลักษณะและทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง (Workshop) ผ่านบทเรียนออนไลน์ ดังนี้
Workshop 1 Thai MOOC
Workshop 2 Google Scholar
Workshop 3 Blueprint Design
ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
เอกสารและตัวอย่างแบบประเมินทักษะศตวรรษที่ 21 (3Rs 8Cs) โดยกลุ่มนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร ไฟล์ PDF ไฟล์ WORD
การอ้างอิง
"ไพรินทร์ เหมบุตร, ละมูล เหล่าทอง, เทพพงษ์ ธวัชบัณฑิต, ฐานิตา แก้วศรี, ปัทมา มีขันหมาก, กนกชัย มาลัยวงศ์, และนางพิมพ์พรรณ คำภิระยศ. (2565). แนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ธัญรดี พากเพียร, และประจิม เมืองแก้ว (บ.ก.), โครงการพัฒนาการจัดการ เรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียนที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงศตวรรษที่ 21. (ม.ป.ท.)"
สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ผ่านบทความวิจัย Workshop 4 Research Article
เอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการเรียนบทความวิจัย : รศ.ดร.วิเชียร วงษ์ใหญ่ และ รศ.ดร.มารุต พัฒนผล คลิกเพื่ออ่าน
ระยะที่ 3 สร้างครูต้นแบบ : รอดำเนินการ
กลุ่มเป้าหมาย ครูจำนวน 30 คน
ครูที่เข้าร่วมกิจกรรมร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลการศึกษา/วิจัย และสะท้อนผลการส่งเสริมนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ส่งเสริมคุณลักษณะและทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยนำรูปแบบและผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้/ การศึกษาไปจัดทำเป็นโปสเตอร์ ขนาด เอ 3 เป็นนวัตกรรมต้นแบบ
Workshop 5 learning management innovation : A 3
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning