สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการคัดสรรตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อลดความซ้ำซ้อนของตัวชี้วัด ใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนบรรลุคุณภาพตามหลักสูตร จากจำนวนตัวชี้วัดทั้งสิ้น 2,056 ตัวชี้วัด สามารถจำแนกเป็นตัวชี้วัดระหว่างทาง 1,285 ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัด ทั้งนี้ จำนวนตัวชี้วัดยังคงครบถ้วน และผู้เรียนมีคุณภาพตามที่หลักสูตรกำหนด  ตัวชี้วัดระหว่างทาง ป็นตัวชี้วัดที่ใช้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเน้นการประเมินในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นการประเมิน เพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก (Formative Assessment) ตัวชี้วัดปลายทาง เป็นตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นที่การประเมินผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน (Summative Assessment) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อนำมาใช้ตัดสินผลการเรียนสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป เนื่องจากไม่ได้เป็นการปรับหลักสูตร แต่เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นในการออกแบบการเรียนรู้และวัดประเมินผล เพื่อลดภาระ ลดเวลา และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ 

หมายเหตุ : จาก ประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย สพป.นครพนม เขต 1, 2566. YouTube.
                (https://www.youtube.com/watch?v=WQA49eOlu4o&t=2012s).

การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง

ตัวอย่างการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มิติสัมพันธ์รูปเรขาคณิต ม.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

หมายเหตุ : จาก การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับตัวชี้วัดระหว่างทางเพื่อการพัฒนาตัวชี้วัดปลายทาง โดย  Aksorn Education, 2567. YouTube . (https://youtu.be/SJbLNcEdNCY?
                si=10r5in7SZEZhJMpo).

การวัดผลและประเมินผลตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง

หมายเหตุ : จาก ประชุมสร้างความรู้ความเข้าใจตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย สพป.นครพนม เขต 1, 2566. YouTube
                (https://www.youtube.com/watch?v=WQA49eOlu4o&t=2012s).